Thanyapon Sananakin
Exchange Server 2016 : Edge Transport Server
หลังจากที่ได้เขียน blog เกี่ยวกับการติดตั้ง และใช้งาน Exchange Server 2016 ไปก่อนหน้านี้นั้น ผมได้รับคำถามจากผู้สนใจจำนวนมาก ว่า Exchange Server 2016 นั้นยังมีการใช้งาน Edge Transport Server อยู่หรือไม่ และใช้งานอย่างไร วันนี้มีโอกาสว่างระหว่างเตรียม lab Exchange Hybrid ก็เลยเขียนมาเล่าให้ฟังกันครับ ซึ่งขอเริ่มจากคำถามที่ได้รับมาก่อนเป็นข้อๆ ดังนี้นะครับ
คำถาม
จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องติดตั้ง Edge Transport Server
ตอบ ไม่จำเป็น เพราะแค่ Mailbox Server Role เพียงเครื่องเดียวก็สามารถที่จะรับ/ส่ง email ได้แล้ว
แล้วจะมี Edge Transport Server ไปทำไม
ตอบ ข้อดีของการติดตั้ง Edge Transport Server มีดังนี้ครับ
- เนื่องจาก Edge Transport
Server จะมีการติดตั้งใน Perimeter network (ซึ่งหมายถึง network ซึ่งมีการรักษาความปลอดภัยโดย Firewall 2...
ทำความรู้จัก Exchange 2016 Server : ภาค 10 –การ Configure Application Request Routing (ARR) และ Windows Network Load Balancing service (WNLB)
มาต่อกันเลยครับ สำหรับการ Configuration การติดตั้ง Application Request Routing (ARR) และการใช้งานร่วมกัน Windows Network Load Balancing Services เพื่อให้เกิด High Availability ที่สูงขึ้นครับ เรามาเริ่มกันที่ การ Configure ARR กันก่อนนะครับ
การ Configure Application Request Routing (ARR)
การ Configure ARR นั้นมีขั้นตอนหลักๆ ดังต่อไปนี้
การสร้าง Server Farm
หลังจากที่ติดตั้ง ARR เสร็จแล้วเราสามารถที่จะสร้าง Server Farm ได้โดยการเปิด IIS Manager และคลิกที่ Server Farm / Create Server Farm
จากนั้นให้กรอกชื่อ URL ของ Exchange Server ตามที่ Design ไว้ใน...
ทำความรู้จัก Exchange 2016 Server : ภาค 9 – เตรียมการก่อนการ Configure Application Request Routing (ARR)
มาต่อกันรัวๆ ครับหลังจากที่พูดถึง DAG และ Mailbox Database Copy ไปในตอนก่อน ในคราวนี้ผมจะมาพูดถึงการ Configure Application Request Routing หรือ ARR เพื่อใช้ในการทำ Reverse Proxy การใช้งานที่เป็น Web Service ต่างๆ เช่น OWA, MAPI, Active Sync ไปสู่ Exchange Server แบบปลอดภัยครับ
Design Diagram
มาดู Design Diagram กันก่อนครับ ดังรูป
จากรูปจะเห็นได้ว่า Network นี้ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 – Internal Zone (กรอบสีเขียว)
เป็นส่วน Secured Network ซึ่งใช้ในการให้บริการต่างๆ กับเครื่องลูกข่าย อาทิเช่น Active Directory Domain Service (AD DS), Exchange...
ทำความรู้จัก Exchange 2016 Server : ภาค 8 – Database Availability Group (DAG) และ Mailbox Database Copy
กลับมาอีกครั้งครับ กับ Exchange 2016 The Series หลังจากห่างหายกันไปเกือบ 1 เดือนเต็ม ช่วงนี้งานยุ่งมากจริงๆ ครับ
และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาครับ ในภาคที่ 8 นี้จะได้กล่าวถึงการ Configure การทำงานของ Database Availability Group (DAG) และการทำ mailbox Database Copy ซึ่งการทำงานต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้ระบบ Exchange Server สามารถทำงานต่อไปได้ ถึงแม้ว่าเครื่อง Exchange Server เครื่องใด เครื่องหนึ่งจะเกิดปัญหาในการทำงานขึ้นมาก็ตาม
Design Diagram
ก่อนที่จะไปดูการ Config กันนั้น ผมขอกล่าวถึง Design ในการทำงานนี้เสียก่อนลักเล็กน้อยครับ ดังรูป
ซึ่งรายละเอียดต่างๆ จากรูปนั้นขออธิบายดังนี้ครับ
Exchange Server นั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 เครื่องคือ EX6-EXCH01 และ EX6-EXCH02 ซึ่งทั้ง 2 เครื่องนั้นจะต้องมีการ setting ที่เหมือนกันหลายๆ อย่าง เพื่อให้เป็นไปตาม Requirement ของการติดตั้ง DAG...
ทำความรู้จัก Exchange 2016 Server : ภาค 7 – การ Configuring Client Access และงานที่เกี่ยวข้อง
ใน Exchange Server นั้น Client Access Protocols ก็นับว่ามีความสำคัญไม่แพ้ไปกว่าการรับ/ส่ง Email ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของ Exchange Server ดังนั้นเราจึงต้อง Configure การทำงานของ Client Access Server ให้ถูกต้อง และครบถ้วนเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้งาน
ซึ่งในภาคนี้จะได้กล่าวถึงการ Configuring Client Access Protocols ต่างๆ ดังนี้
การออกแบบ Name Space
Name Space หรือพูดง่ายๆ ก็คือเรื่องของชื่อ FQDN (Fully Qualified Domain Name) ในการที่จะให้เครื่องลูกข่ายเรียกใช้งานเข้ามายังเครื่อง Exchange Server นั้น โดยปกติจะต้องมีการออกแบบไว้ล่วงหน้า ว่าแต่ละ Client Access Protocols นั้นจะใช้ FQDN อะไร ซึ่งส่วนมากแล้วจะประกอบด้วยชื่อ FQDN ต่างๆ ดังต่อไปนี้
Client Access...
ทำความรู้จัก Exchange 2016 Server : ภาค 6 – Client Access Protocols and Services
นอกจากการ configuration ให้ Exchange Server สามารถทำการรับ/ส่ง Email ได้แล้วนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันก็คือการ Configuration ให้เครื่องลูกข่าย (หรือ Client) ในรูปแบบต่างๆ สามารถเข้ามาใช้งานบริการต่างๆ บนเครื่อง Exchange Server ได้ จึงจะทำให้การใช้งานเกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรครับ
1.รูปแบบการเชื่อมต่อระหว่าง Client กับ Exchange Server
การเชื่อมต่อหลักๆ ของ Exchange Server ที่เครื่องลูกข่ายสามารถใช้งานได้นั้น โดยทั่วไปจะมีอยู 4 รูปแบบคือ
MAPI (Messaging Application Programming Interface)
เป็นโพรโทคอลที่ Microsoft Outlook ใช้ในการเชื่อมต่อกับ Exchange Server โดยตรง (รูปแบบการเชื่อมต่อของ MAPI นั้นมีพื้นฐานจากเทคโนโลยี RPC (Remote Procedure Call) บางครั้งก็เรียกว่า MAPI/RPC ซึ่งมีข้อจำกัดในการทำงานภายในระบบเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ไม่สะดวกในการเข้าถึงข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) ภายหลังได้รับการพัฒนาให้มีการทำงานที่สะดวกมากยิ่งขึ้นโดยนำโพรโทคอล HTTP และ HTTPS มาใช้งานร่วมด้วย เรียกว่าเป็น...
ทำความรู้จัก Exchange 2016 Server : ภาค 5 – การ Configure การรับ/ส่ง Email ใน Exchange Server 2016
หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับ Mail Flow และ Transport Pipeline ใน Exchange 2016 กันไปแล้ว นะครับ ในภาคที่ 5 นี้จะพาไปดูวิธีการ Configure ให้ Exchange Server 2016 สามารถทำการรับ/ส่ง Email กับโลกอินเทอร์เน็ตภายนอกได้ครับ
ก่อนที่จะเราไปดูการ Configure กันนั้นก่อนอื่น ขอพาไปดูความต้องการของระบบกันเสียก่อนนะครับ
ความต้องการเกี่ยวกับ Mail Flow ใน Exchange Server 2016
สมมุติว่าเราไปหาลูกค้าแล้วลูกค้ามี Requirement ดังต่อไปนี้ครับ
ชื่อ MX Record ขององค์กร เป็นชื่อ smtp.xxxxx.com โดยใช้หมายเลขไอพีเป็น 27.xxx.xxx.155
Sender ID หรือ SPF ให้สามารถส่ง Email ออกได้เฉพาะเครื่องที่มีหมายเลขไอพี 27.xxx.xxx.155 เท่านั้น (อันนี้ถึงลูกค้าไม่บอก Implementer ก็ควรจะแจ้งเขาให้ทำด้วยนะครับ เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าครับ)
ผู้ใช้งานจะต้องสามารถเข้าใช้งาน Outlook Web App...
ทำความรู้จัก Exchange 2016 Server : ภาค 4 Mail flow และ Transport Pipeline ใน Exchange Server 2016
หน้าที่หลักประการสำคัญของ Exchange Server ก็คือการรับ/ส่ง Email นั่นเองครับ ซึ่งนี่แหละที่ช่วยให้ Email สามารถเดินทางจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ไม่สูญหายไประหว่างทาง (ในทางทฤษฏีนะครับ) ดังนั้นในภาคนี้จะกล่าวให้เห็นภาพการทำงานของ Mail Flow และ Transport Pipeline ใน Exchange Server 2016 เสียก่อนครับ
(ปล. จริงๆ ในภาคที่แล้ววางแผนไว้ว่าจะพาไป Config mail Flow เลย แต่คิดไปคิดมาแล้วขอมาอธิบาย Mail Flow เสียก่อนดีกว่า เวลาไป Config จะได้เข้าใจภาพการทำงานได้อย่างละเอียดครับ)
Mail Flow
(ในหัวข้อนี้จะยังไม่ลงรายละเอียดนะครับ ว่า Email Server เนี่ยเป็น Software ตัวไหน เพราะทุก Software ใช้หลักการเดียวหมดไม่ว่าจะเป็น Exchange Server, Domino หรือ Email Software ใดๆ ก็ตามครับ)
Mail Flow (หรือว่าการไหลของ e-mail) จริงๆ...
การเพิ่ม Contacts ของผู้ใช้งานในองค์กร ใน Skype for Business
วันนี้ขอนอกเรื่องจาก Exchange 2016 สักวันนึงนะครับ จะขอกล่าวถึง Skype for Business สักหน่อยเป็นเรื่องสั้นๆ ตอนเดียวจบเลยครับ 5555
เรื่องมีอยู่ว่า (ขึ้นต้นเหมือนนิทาน) …….
ผมได้รับงาน Migration Exchange ของลูกค้าเจ้าหนึ่งประมาณ 100 กว่า User ขึ้นไปยัง Office 365 โดยลูกค้าอยากใช้งาน Skype for Business ด้วย ทีนี้เจ้า Skype for Business เนี่ยมันดันไม่สามารถที่จะเอา User ทั้งหมดในองค์กรมาแสดงไว้ในตัวของ Skype for Business ได้ครับ
ทางแก้คือ User ต้องไป User เฉพาะที่ต้องการจะคุยมาไว้ใน Contact เองครับ
ซึ่งผมได้พยายามหาวิธีการหลายวิธีการ ว่าจะมีวิธีการอย่างไรที่สร้าง Contacts ของผู้ใช้ในองค์กรทั้งหมดให้กับผู้ใช้งานแต่ละคนได้ แน่นอนว่าต้องไม่ใช่ด้วยการคลิกสร้างเองแน่ๆ ครับ ผลที่ได้คือมีแนวทาง 2 แนวทางครับ
ใช้คุณสมบัติ UCS (Unified Contact Store)
UCS จะช่วยให้ Skype...
ทำความรู้จัก Exchange 2016 Server : ภาค 3 – Exchange Server 2016 Management Tools
หลังจากที่ได้ทำการติดตั้ง Exchange Server 2016 ในส่วนของ Mailbox Server Role ไปแล้วนั้น ในภาคนี้จะพักเบรคเนื้อหาหนักๆ ไว้สักตอนนึงนะครับ โดยจะให้ไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับ Exchange Server 2016 Management Tools กันก่อนว่ามีอะไรให้ผู้ดูแลระบบเลือกใช้ในการทำงานได้บ้างครับ
เครื่องมือในการบริหารจัดการ Exchange Server 2016 นั้นก็จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้ครับ
Exchange Admin Center หรือเรียกย่อๆ ว่า EAC
ตัว EAC นั้นจะเป็น Management Tools ที่มีการใช้งานมากที่สุดนะครับ เนื่องจากใช้งานง่าย เป็น Web Based Interface เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป และด้วยความที่เป็น Web Based ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องติดตั้ง Software ใดๆ ในเครื่องของ Admin ครับ ใช้เพียง Web Browser เช่น Internet Explorer หรือ...